รมว.สุชาติ ลงพื้นที่เยี่ยมชมพร้อมหารือแนวทางสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย

จากนั้น รมว.แรงงาน และคณะเยี่ยมชมนิทรรศการการจัดแสดง พร้อมประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โอกาสเดียวกันนี้ รมว.แรงงาน ได้รับฟังการนำเสนอสรุปความเป็นมาและสภาพปัญหา โดยผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ฯ และรับยื่นหนังสือเพื่อขอรับการสนับสนุนจากผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ฯ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนและกำหนดแนวทางการสนับสนุนช่วยเหลือพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยอีกด้วย ณ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ตั้งอยู่เลขที่ 503/20 ถนนนิคมรถไฟมักกะสัน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ผมและคณะได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพื่อหารือแนวทางการสนับสนุนช่วยเหลือให้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยแห่งนี้ ได้ดำเนินต่อไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง สำหรับภารกิจทางประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เกิดขึ้นมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2534 โดยองค์การแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการด้านแรงงาน นักประวัติศาสตร์ และนักจดหมายเหตุ มีมติร่วมกันให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยขึ้น

เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไทยและด้วยการร่วมแรงร่วมใจช่วยกันคนละไม้คนละมือ อาคารเก่าแก่ชั้นเดียวที่เคยมีประวัติเป็นสถานีตำรวจรถไฟและที่ทำการสหภาพแรงงานรถไฟก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นแรงงาน

โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2536 มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง 4 ประการ คือ เพื่อจัดแสดงเรื่องราว ประวัติความเป็นมาชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานของผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า รวบรวม และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แรงงานไทย และเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูล เอกสาร หนังสือ เทปบันทึกเสียงและวีดิโอเกี่ยวกับแรงงานไทย สำหรับให้บริการแก่สาธารณชน และเพื่อเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแรงงาน ที่จัดกิจกรรมเพื่อผู้ใช้แรงงานและสาธารณชน

ทั้งนี้ ปัจจุบันสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่สถานีรถไฟมักกะสันจะถูกนำไปพัฒนาในเชิงธุรกิจเพื่อหารายได้ แต่ความสำคัญของของพิพิธภัณฑ์ ฯ แห่งนี้จะทำให้เกิดความร่วมมือจากฝ่ายแรงงานและประชาชนทั่วไป รวมทั้งรัฐบาลเพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นประวัติศาสตร์แรงงานที่ดำรงคุณค่าในสังคมไทยต่อไป

ขอบคุณภาพ/ข่าว

###################################             พลอย รีพอร์ตนิวส์รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed