## POLICE NEWS update PLUS ## “ปัจจัยชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะความยากจน” หมอพลเดช” สมาชิกวุฒิสภาโฆษก คณะอนุกรรมาธิการแก้ปัญหา”ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ” วุฒิสภา 

ได้ประมวลประเด็นที่เป็นเหตุปัจจัยความสำเร็จในการแก้ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำจากหลายกรณีศึกษา รวมทั้งโครงการแก้จนแบบพุ่งเป้าของประเทศจีนและนโยบายแก้ปัญหาความยากจนของประเทศอินเดีย สรุปประเด็นที่หนุนเสริมความสำเร็จรวม 25 ปัจจัย ดังนี้

.

1. เกษตรกรรมเป็นอาชีพพื้นฐานที่มีศักยภาพสูง ช่วยแก้ความยากจนระดับครัวเรือนและชุมชนชนบท

2. ที่ทำกิน ทรัพยากรดิน-น้ำการเกษตร เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับอาชีพ คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน

3. อาชีพและรายได้เสริมจากภาคนอกไร่นาเป็นปัจจัยสำคัญ เช่น ค้าขาย บริการ ศิลปหัตถกรรม ช่างฝีมือ ท่องเที่ยว แปรรูป ฯลฯ

4. การเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการประกอบอาชีพ อาจเป็นแหล่งทุนในชุมชน ท้องถิ่นและสถาบันการเงิน

5. การเข้าถึงตลาดและเทคโนโลยีเป็นหลักประกันในการขายผลผลิต แรงงานและบริการอื่น มีโอกาสรับความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่ออาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต

6. ระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ดีและเศรษฐกิจชุมชนที่แข็งแรง จะเอื้อต่ออาชีพ รายได้และเศรษฐกิจครัวเรือน

7. โครงการพัฒนาในพื้นที่ไม่ว่ามาจากหน่วยงานใด จะมีส่วนเอื้อต่อระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น-ชุมชน

8. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้ชุมชนปรับเปลี่ยนวิธีคิด มุมมองและพฤติกรรมใหม่ในการดำรงชีพและการทำมาหากิน มีแรงบันดาลใจ ความหวัง และความสุข

9. สาธารณูปโภคพื้นฐาน น้ำสะอาด (ประปา) และพลังงานไฟฟ้า ช่วยให้มีผลผลิตการเกษตรและรายได้ดีขึ้น

10. ความสงบสันติในชุมชนมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกครัวเรือน พื้นที่ขัดแย้งไม่สงบย่อมไม่มีหลักประกันความยั่งยืนในการพัฒนา

11. ตัวชี้วัดเป้าหมายที่บ่งบอกภาวะ ”การหลุดพ้น” จากสภาพครัวเรือนยากจนอย่างเป็นรูปธรรม สำคัญต่อการติดตามความก้าวหน้าและใช้ประเมินตนเอง

12. ประชาธิปไตยชุมชน เป็นเรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย ประชาธิปไตยแบบ “มีส่วนร่วม” และ ประชาธิปไตย ”ทางตรง”

13. การแข่งขันทางการเมืองในท้องถิ่น เป็นตัวแปรสำคัญของความรักสามัคคีหรือความแตกแยกในชุมชน

14. พันธมิตรจากภายนอกมีบทบาท”หนุนเสริม” หรือ “เหนี่ยวนำ” ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่น

15. กระบวนการและกลไกสนับสนุนแบบพหุภาคี หรือ แบบประชา-รัฐ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุน

16. การเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการเกษตรผสมผสาน ช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ แก้ปัญหาหนี้สิน

17. เศรษฐกิจเบิกนำ หมายถึงผลผลิต สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่โดดเด่นของท้องถิ่นที่มีศักยภาพมากจนสามารถบุกเบิกและนำพาพืช-สัตว์เศรษฐกิจตัวอื่นๆได้ เช่น มะขาม มะม่วง กล้วย ทุเรียน โคขุน ฯลฯ

18. ในทุกชุมชนที่เข้มแข็ง มักจะพบว่าสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมการจัดการของชุมชนที่โดดเด่น

19. ระบบสวัสดิการชุมชน เป็นกระบวนการจัดการตนเองที่มักพบในทุกชุมชนเข้มแข็ง มักทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย

20. กลไกบูรณาการงานสนับสนุนชุมชนเข้มแข็งที่มาจากภายนอกทุกกระทรวง ที่ “ตำบล” เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปได้มากที่สุด

21. ความรักสามัคคีเป็นปึกแผ่นในชุมชนท้องถิ่น เป็นฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่งต่องานพัฒนา

22. นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการบรรลุเป้าหมาย

23. “พี่เลี้ยงการพัฒนา” อาศัยคนแข็งแรงจับคู่ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอก เป็นวิธีการเพิ่มความแม่นยำแก้ปัญหา

24. UNDP จีน อินเดีย และไทย ต่างก็ใช้เส้นวัดความยากจน (Poverty line) ในการระบุพื้นที่ยากจน-ด้อยโอกาส เพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา

25. จีน อินเดีย และไทย รวมทั้งข้อเสนอแนะจาก UNDP ต่างให้ความสำคัญต่อการมีนโยบายเศรษฐกิจระดับมหภาคที่เอื้อต่อฐานราก แก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างของพื้นที่เป้าหมาย

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 3 เม.ย. 2564

ขอบคุณภาพ/ข่าว

###################################              พลอย รีพอร์ตนิวส์รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed